วันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การหากรณฑ์ที่สองโดยการหารยาว

การหากรณฑ์ที่สองโดยการหารยาว

การหากรณฑ์ที่สองหรือค่าหลักรากที่สองของจำนวนจริงบวกใดๆ  โดยปกติแล้วถ้าเป็นการหากรณฑ์ที่สองของจำนวนจริงบวกที่ถอดรากได้ลงตัวจะสามารถทำได้โดยง่าย  ดังนี้

หรือถ้าจำนวนจริงบวกมีค่ามากก็อาจจะหากรณฑ์ที่สองได้โดยการหารสั้น เช่น



แต่ถ้ากรณฑ์ที่สองของจำนวนจริงที่อยู่ในรูปติดกรณฑ์ซึ่งคำตอบจะเป็นทศนิยม  เราสามารถหากรณฑ์ที่สองได้โดยการตั้งหารยาว ซึ่งมีวิธีการดังนี้

ขั้นที่  1   แบ่งตัวเลขออกเป็นกลุ่ม ๆ ละ 2 จำนวน  โดยให้ทศนิยมเป็นจุดเริ่ม  แบ่งไปทั้งทางซ้ายและทางขวาของจุดทศนิยม
215  =  215.0000
                           215  แบ่งได้เป็น   2  15 . 00  00               

                เขียนในรูปการหารยาวได้ดังนี้
ขั้นที่ 2  หาจำนวนที่ยกกำลังสองแล้วได้ค่ามากที่สุดและมีค่าไม่เกินตัวเลขกลุ่มแรก (นับลำดับของกลุ่มจากซ้ายไปขวา) นำกำลังสองของจำนวนนั้นมาลบออกจากตัวเลขกลุ่มแรก
ในที่นี้คือหาจำนวนที่ยกกำลังสองแล้วมีค่ามากที่สุดและไม่เกิน 2
นั่นคือ  12 = 1     ใช้ได้
22 = 4     ใช้ไม่ได้  เนื่องจากมีค่าเกิน 2
นำมาเขียนหารยาวได้เป็น
ขั้นที่ 3   ดึงตัวเลขกลุ่มที่สองลงมา  จากนั้นนำ 2 มาคูณกับผลหารที่ได้ในขั้นที่ 2 แล้วหาตัวเลขมาต่อท้ายค่าที่ได้แล้วทำให้ผลคูณของตัวเลขนั้นกับค่าดังกล่าวมีค่าไม่เกินตัวตั้ง

ขั้นที่ 4  ดึงตัวเลขกลุ่มถัดมาลงมา แล้วทำแบบเดียวกับขั้นที่ 3 ทำไปเรื่อย ๆ จนกระทั้งผลหารถึงทศนิยมตำแหน่งที่สาม

              การหากรณฑ์ที่สองด้วยวิธีนี้เริ่มต้นอาจจะค่อนข้างสับสนในการหาคำตอบ  เมื่อได้ลองฝึกทำบ่อยๆ จะเกิดความชำนาญและทำให้รู้สึกว่าเป็นวิธีที่ง่ายและไม่ยากเลย

ผู้เขียน :  นางสาวปิยาภรณ์  เขียวหวาน นักศึกษาปริญญาโท 
                สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา รุ่นที่ 5  เลขที่ 14
                มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
 

วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การแสดงสูตรพีชคณิตบางสูตรโดยใช้เรขาคณิต

                 การแยกตัวประกอบของพหุนามมักเป็นเรื่องยากสำหรับนักเรียนในระดับมัธยมที่จะต้องจดจำสูตรในการแยกตัวประกอบพุนาม ซึ่งสูตรเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้นักเรียนแยกตัวประกอบพหุนามได้รวดเร็วยิ่งขึ้น แต่ปัญหาของนักเรียนคือจำสูตรไม่ได้ เนื่องจากไม่เข้าใจที่มาของสูตร  ผู้เขียนจึงได้ศึกษาจากหนังสือคณิตศาสตร์พบว่ามีการใช้เรขาคณิตมาแสดงสูตรพีชคณิตเหล่านี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีที่จะช่วยให้นักเรียนเห็นภาพของความสัมพันธ์ของสูตรและสามารถจดจำสูตรได้

ผู้เขียน : นางสาวปิยาภรณ์ เขียวหวาน นักศึกษาปริญญาโท
              สาขาวิชาคณิตศาสตร์  รุ่นที่ 5 เลขที่ 14
              มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

เปลี่ยน มุมมองการคิด แก้ปัญหาคณิตศาสตร์


ผู้เขียน : นายทศชิต บรรลุศิลป์ นักศึกษาปริญญโท
สาขาวิชาคณิตศาสตร์ รุ่นที่ 5 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

เทคนิคการยกกำลังสอง




ผู้เขียน : นายทศชิต บรรลุศิลป์ นักศึกษาปริญญาโท
สาขาวิชาคณิตศาสตร์ รุ่นที่ 5  มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี